วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นกแก้ว

นกแก้ว หรือ นกปากขอ (อังกฤษParrot) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes
เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ[2] รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้
เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีัและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบ[2]
เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยนิยมเลี้่ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกหัดให้เลียนเสียงตามแบบภาษามนุษย์ในภาษาต่าง ๆ ได้ ประกอบกับมีสีสันต่าง ๆ สวยงามตามชนิด ซึ่งนกแก้วไม่มีกล่องเสียงแต่การส่งเสียงมาจากกล้ามเนื้อถุงลมและแผ่นเนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะส่วนนี้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเปล่งเสียงออกมาได้[2][3] แบ่งออกได้ราว 360 ชนิด ใน 80 สกุล[4]
ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ Psittacidae หรือนกแก้วแท้ พบทั้งหมด 7 ชนิด ใน 3 สกุล อาทิ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri), นกแก้วโม่ง (P. eupatria) เป็นต้น[3]
อย่างไรก็ตาม มีนกเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้ที่บินไม่ได้ และหากินในเวลากลางคืนด้วย คือ นกแก้วคาคาโป (Strigops habroptila) ที่พบเฉพาะบนเกาะนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยเป็นนกรูปร่างใหญ่ บินไม่ได้ นอกจากจะหากินในเวลากลางคืนแล้ว ยังมีเสียงร้องประหลาดที่คล้ายกบหรืออึ่งอ่างอีกด้วย ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7

ปลามังกร

วงศ์ปลามังกรน้อย (อังกฤษDragonet, Scotter blennyชื่อวิทยาศาสตร์: Callionymidae) เป็นวงศ์ปลาทะเลขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes)
มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกัน แต่วงศ์ปลามังกรน้อยไม่จัดอยู่ในวงศ์ปลาบู่ แต่กลับมีความใกล้เคียงกับปลาในวงศ์ปลามังกรน้อยลาด (Draconettidae) มากกว่า
โดยคำว่า "Callionymidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "Kallis" ซึ่งแปลว่า "สวย" และ "onyma" แปลว่า "ชื่อ"
เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ราว 10 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด 17 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของอินโด-แปซิฟิก หากินโดยใช้ปากที่มีขนาดเล็กคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยจะหากินในเวลากลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ
มีรูปร่างโดยรวม คือ มีส่วนหัวขนาดโต ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ มีครีบต่าง ๆ ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางและครีบท้อง ซึ่งแข็งแรงมาก มีพฤติกรรมใช้ครีบท้องนี้คืบคลานหาอาหารตามพื้นทรายมากกว่าจะว่ายน้ำโดยมีครีบหางเป็นเครื่องบังคับทิศทาง มีเงี่ยงครีบหลัง 4 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 6-11 ก้าน ก้านครีบก้น 4-10 ก้าน มีเส้นข้างลำตัว มีกระดูกเรเดียส 3 ชิ้น ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้มีกระโดงครีบหลังชี้ยาวออกมาเห็นเป็นจุดเด่น ขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยมากแล้วมีสีสันและลวดลายสดใสสวยงามมาก
มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปรอบ ๆ ตัวเมีย พร้อมเบ่งสีและครีบต่าง ๆ เพื่อเกี้ยวพา เมื่อตัวเมียปล่อยไข่ออกมาแล้ว ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่จะลอยไปตามกระแสน้ำ ตัวอ่อนใช้ชีวิตเบื้องต้นเป็นเหมือนแพลงก์ตอน ในบางชนิดมีรายงานว่ามีพิษด้วย
ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้ว 18 สกุล[1] (ดูในตาราง) ราว 130 ชนิด และเนื่องจากเป็นปลาสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้ปะการัง ซึ่งบางชนิดสามารถเพาะเลี้ยงในที่เลี้ยงได้แล้ว อาทิ ปลาแมนดาริน (Synchiropus splendidus), ปลาแมนดารินจุด (S. picturatus) เป็นต้น
ปลาแมนดารินตัวผู้ (Synchiropus splendidus)
ปลาแมนดารินจุดขนาดเล็ก (S. picturatus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Perciformes
อันดับย่อย:Callionymoidei
วงศ์:Callionymidae
สกุล

ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาหมอสี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคเทอร์เชียรี-ปัจจุบัน
ปลานิล (Oreochromis niloticus) เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปแอฟริกา
ปลาหมอไตรมาคู (Cichlasoma trimaculatum) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม พบในภูมิภาคอเมริกากลาง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Perciformes
อันดับย่อย:Labroidei
วงศ์:Cichlidae
Heckel1840
วงศ์ย่อย:
สกุล
221 สกุล ดูรายละเอียดในบทความ
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
วงศ์ปลาหมอสี (อังกฤษCichlid) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมวงศ์ปลาหมอสี (อังกฤษ: Cichlid) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่(Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ"
ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดาปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น

ลักษณะเฉพาะของปลาหมอสี

ถึงแม้ว่าปลาหมอสีมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม เช่น ปลาตัวแบนที่แฝงตัวตามพืชน้ำอย่างปลาเทวดา หรือปลานักล่าลำตัวเพรียวอย่างปลาหมอออสเซลาริส ปลาในวงศ์นี้ก็มีลักษณะร่วมอันเป็นเอกลักษณ์ คือ
  • มีกรามพิเศษในลำคอ นอกเหนือไปจากกรามแท้
  • มีรูจมูกสองรู ซึ่งต่างจากปลาส่วนใหญ่ที่มีสี่รูจมูก
  • ไม่มีชั้นกระดูกใต้รอบตา
  • เส้นข้างลำตัวขาดตอน ตัดแบ่งเป็นสองส่วน
  • กระดูกหู มีลักษณะเฉพาะ
  • ลำไส้เล็กหันออกจากทางด้านซ้ายของกระเพาะ
  • มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูไข่และลูกอ่อน
  • ปลาหมอสีลูกผสม[แก้]

    ปลาหมอสีลูกผสมข้ามชนิด นิยมเรียกกันว่า "ครอสบรีด" เป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียอีกหลายประเทศ ที่คุ้นเคยกันมานานก็คือ ปลาหมอมาลาวี (ปลาในสกุล Aulonocara) ที่มีขายทั่วไป มักไม่ใช่ปลาชนิดแท้ แต่เป็นเชื้อสายมาจากปลาลูกผสมข้ามชนิดในสกุลเดียวกัน ปลาหมอฟลามิงโก้ก็เช่นกัน มักเป็นปลาลูกผสมข้ามชนิดมากกว่าเป็นปลาชนิดแท้ ในระยะหลัง ยังมีปลาลูกผสมอื่น ๆ ที่เป็นที่แพร่หลายมาก คือ
    ปลาในกลุ่มนี้ เป็นลูกผสมจากปลาหมอสีหลายชนิด จากหลายสกุล จึงนอกจากจะเป็นลูกผสมข้ามชนิด ยังเรียกได้ว่าเป็นลูกผสมข้ามสกุลอีกด้วย 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B5

สุนัข

หมา หรือภาษาทางการว่า สุนัข เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของสุนัขตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น สุนัขที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) สุนัขที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis lupus familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ลาบราดอร์, โกลเด้น, ชิวาวา และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน
สุนัขพัฒนามาจากสัตว์กินเนื้อและล่าเหยื่อ ดังนั้นวิวัฒนาการของฟันสำหรับเคี้ยวเนื้อและกระดูกจึงยังคงมีอยู่ รวมทั้งการมีประสาทดมกลิ่นและตามล่าเหยื่อที่ดีมาก นอกจากนี้สุนัขยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทำให้วิ่งได้เร็วและเร่งความเร็วได้เท่าที่ต้องการ ลักษณะการเดินของสุนัขจะทิ้งน้ำหนักตัวบนนิ้วเท้า ซึ่งส่งผลให้สุนัขเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าสัตว์ชนิดอื่น นอกจากนี้สุนัขยังมีสัญชาตญาณในการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้นสุนัขจึงสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประวัติ

สุนัขมีต้นกำเนิดมาจากมนุษย์แถบขั้วโลกเหนือนำมันมาเลี้ยงเมื่อประม12,000ปีที่แล้วแล้ว เชื่อกันว่า สุนัขป่าตัวแรกนั้น เกิดขึ้นเมื่อ31,700ปีก่อน การอพยพข้ามถิ่นและทวีปต่าง ๆ ทำให้สุนัขหลากหลายสายพันธุ์กำเนิดขึ้น "อนูบิส" ซึ่งเป็นชื่อของเทอียิปต์โบราณที่ตัวเป็นหมา หัวเป็นคน และเชื่อว่าสามารถส่งวิญญาณมนุษย์ได้
สุนัขพันธุ์ที่เรียกได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ต้นตระกูลคือพันธุ์สุนัขไซบิเรียนหรือหมาป่าที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ต่อมามีสุนัขป่าอีกพันธุ์หนึ่งที่มนุษย์นำมากินมีชื่อภาษาละตินว่า 'เคนิส ลูปัส(canis lupus)' ซึ่งแปลว่าสุนัขป่า สุนัขป่าชนิดนี้จะเชื่องกว่าสุนัขธรรมดา มีขนยาว หางเป็นแผง กระดูกแก้มโหนก และหางของมันจะเห็นชัดมากขึ้น มีนิสัยรักอิสระกว่าสุนัขป่า
การค้นคว้าวิจัยและศึกษาเรื่องราวของสุนัข ได้มีขึ้นในประเทศอังกฤษ ในแถบยุโรปและอเมริกา แล้วจึงแพร่หลายไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นในปี ค.ศ. 1 (พ.ศ. 1) สุนัขพันธุ์แท้ชนิดแรกที่ได้จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาคือ สุนัขพันธุ์[[อิงลิชเชสเตอร์กริว] ในประเทศอังกฤษได้มีการรวบรวมกันตั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นเช่นกันในปี ค.ศ. 1859 (พ.ศ. 2402) ในครั้งแรกสมาคมนี้ได้รับรองให้จดทะเบียนสุนัขพันธุ์แท้ได้ 40 สายพันธุ์ และได้จัดวิธีการสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อความเหมาสมอีกหลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) สมาคมนี้ได้ให้การรับรองพันธุ์แท้ต่าง ๆ รวมเป็นจำนวน 46 พันธุ์ การแก้ไขเพิ่มเติมการรับรองเป็นสุนัขพันธุ์แท้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2417) ได้มีสุนัขที่ให้การรับรองทั้งหมด120กว่าสายพันธุ์

บรรพบุรุษ และที่มาของความเชื่อง[แก้]

วิวัฒนาการด้านโมเลกุลของสุนัขชี้ให้เห็นว่าสุนัขเลี้ยงนั้น (Canis lupus familiaris) สืบทอดมาจากจำนวนประชากรหมาป่า (Canis lupus) เพียงตัวเดียวหรือหลายตัว สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งชื่อพวกมัน สุนัขสืบทอดจากหมาป่าและสามารถผสมข้ามพันธุ์กับหมาป่าได้ด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสุนัขนั้นถูกฝังลึกในด้านโบราณคดีและหลักฐานที่ตรงกันชี้ให้เห็นช่วงเวลาของการทำให้สุนัขเชื่องในยุคหินใหม่ ใกล้ ๆ กับขอบเขตของช่วงเพลสโตซีนและโฮโลซีน ในระหว่าง 17,000 - 14,000 ปีมาแล้ว ซากกระดูกฟอสซิลและการวิเคราะห์ยีนของสุนัขในยุคอดีตกับปัจจุบัน และประชากรหมาป่ายังไม่ถูกค้นพบ สุนัขทั้งหมดสืบอายุอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เชื่องด้วยตัวเองหรือไม่ก็ได้ถูกทำให้เชื่องด้วยตัวมันเองในพื้นที่มากกว่าหนึ่งพื้นที่ สุนัขที่ถูกเลี้ยงให้เชื่องแล้วอาจจะผสมข้ามพันธุ์กับประชากรหมาป่าที่อยู่ในถิ่นนั้น ๆ ในหลาย ๆโอกาส กระบวนการนี้รู้จักในทางทางพันธุศาสตร์ว่า อินโทรเกรสชัน (Introgression)
ในยุคแรก ๆ ฟอสซิลสุนัข กะโหลก 2 จากรัสเซียและขากรรไกรล่างจากเยอรมนี พบเมื่อ 13,000 ถึง 17,000 ปีมาแล้ว บรรพบุรุษของมันเป็นหมาป่าโฮลาร์กติก (Canis lupus lupus) ซากศพของสุนัขตัวเล็กจากถ้ำของสมัยวัฒนธรรมนาทูเฟียนของยุคหินได้ถูกเก็บไว้ในแถบตะวันออกกลาง มีอายุราว 12,000 ปีมาแล้ว เข้าใจว่าเป็นทายาทมาจากหมาป่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาพศิลปะบนหินและซากกระดูกชี้ให้เห็นว่า เป็นเวลากว่า 14,000 ปีมาแล้วที่สุนัขในที่นี้กำเนิดจากแอฟริกาเหนือข้ามยูเรเชียไปถึงอเมริกาเหนือ หลุมฝังศพสุนัขที่สุสานยุคหินของเมืองสแวร์ดบอร์กในประเทศเดนมาร์กทำให้นึกไปถึงในยุคยุโรปโบราณว่าสุนัขมีค่าเป็นถึงเพื่อนร่วมทางของมนุษย์
การวิเคราะห์ทางยีนได้ให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เหมือนกันมาจนถึงทุกวันนี้ วิล่า ซาโวไลเนน และเพื่อนร่วมงาน พ.ศ. 2540 สรุปว่าบรรพบุรุษของสุนัขได้แยกออกจากหมาป่าชนิดอื่น ๆ มาเป็นเวลาระหว่าง 75,000 ถึง 135,000 ปีมาแล้ว เมื่อผลการวิเคราะห์ที่ตามมาโดยซาโวไลเนน พ.ศ. 2545 ชี้ให้เห็น เผ่าพันธุ์ดั้งเดิมจากกลุ่มยีนสำหรับประชากรสุนัขทั้งหมด ระหว่าง 40,000 ถึง 15,000 ปีมาแล้ว ในเอเชียตะวันออก เวอร์จีเนลลี่ พ.ศ. 2548 แนะนำว่าอย่างไรก็ดี ช่วงเวลาของทั้งคู่จะต้องถูกประเมินผลอีกครั้งในการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า นาฬิกาโมเลกุลแบบเก่าที่ใช้วัดเวลานั้นได้กะเวลายุคสมัยของเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาเกินความจริง โดยในความจริง และในการเห็นพ้องกันว่าด้วยเรื่องหลักฐานทางโบราณคดี เป็นเวลาเพียง 15,000 ปีเท่านั้นที่ควรจะเป็นช่วงชีวิตสำหรับความหลากหลายของของสุนัขหมาป่า
สหภาพโซเวียตเคยพยายามนำสุนัขจิ้งจอกมาเลี้ยงให้เชื่อง เช่นในสุนัขจิ้งจอกเงิน และสามารถนำมันมาเลี้ยงได้เพียงแค่ 9 ชั่วอายุของมันหรือน้อยกว่าอายุขัยของมนุษย์ นี่ยังเป็นผลในการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น เช่น สี ที่จะกลายเป็นสีดำ สีขาว หรือสีดำปนขาว พวกมันได้พัฒนาความสามารถในการขยายพันธุ์ตลอดปี หางที่โค้งงอมากขึ้น และหูที่ดูเหี่ยวย่น
สถานะการอนุรักษ์
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordate
ไฟลัมย่อย:Vertebrate
ชั้น:Mammal
อันดับ:Carnivora
วงศ์:Canidae
สกุล:Canis
ชนิด:C. lupus
ชนิดย่อย:C. l. familiaris
Trinomen
Canis lupus familiaris

(Linnaeus, 1758)
หมา หรือภาษาทางการว่า สุนัข เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศ

ลักษณะทั่วไปและการล่าเหยื่อ

สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะที่ต่างกันออกไป แต่ลักษณะโดยรวมของสุนัขทั่ว ๆ ไปแล้ว สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ออกลูกเป็นตัว มีขนสั้นหรือยาวแตกต่างไปตามสายพันธุ์ บางตัวอาจมีขนสีดำ สีขาว สีน้ำตาล สีส้ม หรือบางตัวอาจมีหลายสีปะปนกัน ขนาดของหูจะสั้นหรือยาวก็แตกต่างไปตามสายพันธุ์เช่นกัน สุนัขสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

สุนัขเล่นกีฬา

สุนัขเล่นกีฬา (Sporting Dogs) เป็นสุนัขพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์โดยเฉพาะ มีหน้าที่การค้นหาเหยื่อ และนำเหยื่อกลับมาให้เจ้าของ เราสามารถแบ่งสุนัขเล่นกีฬาได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
  • สเปเนี่ยน เป็นพันธุ์สุนัขที่มีรูปร่างขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป เฉลียวฉลาด จมูกรับกลิ่นได้ดี ลักษณะเด่นคือหูยาวตูบ แบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่มคือ พันธุ์ที่ใช้ล่าสัตว์ และพันธุ์ขนาดเล็ก (ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มสุนัขที่เลี้ยงไว้ดูเล่น) ในขณะที่มันออกล่าสัตว์ เมื่อมันพบเหยื่อ มันจะพุ่งเข้าโจมตีเหยื่อทันที
  • พอยเตอร์ และเซทเตอร์ เป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าสเปเนี่ยน ขายาว หูตูบ และจมูกรับกลิ่นได้ดี
  • รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขที่เป็นมิตร แข็งแรง มีโครงสร้างดี และ มีความเชี่ยวชาญในการล่าสัตว์ มันถนัด การค้นหา และนำเหยื่อกลับมาให้เจ้าของ มันมักจะทำงานร่วมกับสุนัขพันธุ์สเปเนี่ยน นอกจากนี้ รีทรีฟเวอร์ยังสามารถว่ายน้ำได้ดี มันจึงมักถูกใช้ในการล่าสัตว์ปีกที่บินอยู่เหนือน้ำ เช่น ห่านป่า เป็นต้น

สุนัขเทอร์เรีย

สุนัขเทอร์เรีย (Terriers) เป็นสุนัขขนาดเล็ก ต้นกำเนิดอยู่ในประเทศอังกฤษ มีนิสัยชอบดมกลิ่น อยากรู้อยากเห็น ตามรอย และขุดหาสิ่งที่สงสัย มันจึงกลายเป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์ สุนัขเทอร์เรียจะทำหน้าที่ตามรอยสัตว์ป่า เช่น กระต่าย หนู แบดเจอร์ หมาป่า เมื่อพบแหล่งที่อยู่อาศัยของเหยื่อ มันจะมุดลงไปในรูนั้น ทำให้สัตว์เหล่านั้นตกใจและวิ่งออกมาจากรัง เพื่อให้คนตามล่าต่อไป
แม้เทอร์เรียจะเป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก ขาสั้น แต่เคลื่อนไหวได้อย่างว่องไว มีความมานะอดทน บากบั่น กล้าหาญ ทำให้มันเคยถูกใช้เป็นสุนัขสงคราม แต่ปัจจุบันนิยมนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อนเล่นในบ้าน
สุนัขเทอร์เรียแยกย่อยได้อีกหลายสายพันธุ์ อาจแบ่งเทอร์เรียเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของขน ได้แก่
  • พันธุ์ขนเรียบและสั้น เช่น ฟอกซ์ เทอร์เรียขนสั้น
  • พันธุ์ขนหยาบและยาว เช่น สก็อตทิช เทอร์เรีย และ เคอรีบลู เทอร์เรีย เป็นต้น
บนเกาะอังกฤษนั้น มีสุนัขเทอร์เรียอีกมากมายหลายสายพันธุ์ กระจายไปตามท้องที่ต่าง ๆ แต่ส่วนหนึ่งได้กลายพันธุ์ไป เหลือแต่สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยม เช่น
  • ฟ็อกซ์ เทอร์เรีย, บูล เทอร์เรีย, แบดลิงตัน และ แมนเชสเตอร์ เทอร์เรีย จากเกาะอังกฤษ
  • สกาย, เครน และ สก็อตทิช เทอร์เรีย จากสก็อตแลนด์ ไอริช และเคอรีบลู เทอร์เรีย จากไอร์แลนด์ เป็นต้น
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2